ฟื้นฟูผิวด้วย G&T Organic 40Plus Anti-Aging : Non-Chemical Sunscreen SPF50PA+++

Last updated: 14 พ.ย. 2565  |  1265 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟื้นฟูผิวด้วย G&T Organic 40Plus Anti-Aging : Non-Chemical Sunscreen SPF50PA+++


Sunscreen

     แสงแดด ศัตรูตัวสำคัญของผิวเรา เพราะในแสงแดดประกอบไปด้วยรังสี UVA, UVB, และ UVC โชคดีหน่อยที่ชั้นบรรยากาศของเราสามารถกรองรังสี UVC เอาไว้ได้ แต่ยังคงปล่อยให้แสง UVA และ UVB ผ่านชั้นบรรยากาศมา ซึ่งรังสี UVA จะทำให้เกิดผิวคล้ำ ทำลายความยืดหยุ่นของผิวอันเนื่องจาก Collagen ในผิวหนังถูกทำลายลง ก่อให้เกิดริ้วรอยต่าง ๆ  ส่วนรังสี UVB นั้นทำให้ผิวหนังเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อนและไหม้เกรียมที่ผิว ส่งผลให้เกิดรอยดำจากการโดนแสง  

 

     ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เรามีตัวช่วยในการดูแลและปกป้องผิวจากแสงแดด นั่นคือการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF (ค่า SPF  นั้นย่อมาจาก Sunburn  Protection  Factor  เป็นค่าที่ใช้สำหรับบอกความสามารถของครีมกันแดดในการป้องกันการไหม้แดงของผิว ที่เกิดจาก รังสี UVB โดยปกติยิ่งค่าสูงจะยิ่งทําให้เราอยู่กลางแดดได้นานมากขึ้นก่อนจะมีอาการผิวไหม้แดง (8))



     ค่า SPF ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 ขึ้นไป เป็นค่าที่จะสามารถปกป้องผิวเราจากแสงแดดจัด ๆ ของประเทศไทยได้ค่ะ   นอกจากค่า SPF แล้ว ผลิตภัณฑ์นั้นควรมีค่า PA+ (ค่า PA+ เป็นค่าที่บอกความสามารถในการป้องกันรังสี UVA ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดริ้วรอย ความสามารถในการกันรังสี UVA นั้นดูได้จากจำนวนเครื่องหมาย + ถ้ามากยิ่งสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVA ได้มากขึ้น(8)) การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นเป็นการปกป้องผิวจากภายนอกคือแสงแดดนั่นเองค่ะ แล้วถ้าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นมีสารสำคัญที่สามารถช่วยปกป้องและดูแลผิวจากภายในได้ด้วยคงจะดียิ่งขึ้นใช่มั้ยคะ

 

     ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กันแดดมักนิยมเติมสารสำคัญเพื่อให้มาช่วยดูแล ฟื้นฟู และปกป้องผิวจากภายในเพิ่มมาด้วย ดังตัวอย่างเช่น  Peptilium, Collagen, Ectoin, Aloe Vera, Vitamin E

     Peptilium คือ Natural Biopeptides ที่ผลิตมาจากผลไม้พวก Cranberries โดย Natural Biopeptides จัดเป็น Peptides ชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของ Peptides นั้นมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยที่ผิวหนังของเราได้ดี (1) โดย Peptides นั้นเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผิวหนังเราต้องการ เพื่อนำไปกระตุ้นการสร้าง Collagen ส่งผลให้ผิวพรรณของเรานั้นดูอ่อนเยาว์ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ  ช่วยให้ผิวกระจ่างใสแลดูผิวมีสุขภาพดี (2)

 

กลไกของ Bioactive peptides ในการลดเลือนริ้วรอย

-          Peptides จะเข้าไปเพิ่มการทำงานของ Anti-oxidant enzymes ( CAT, SOD, GSH-PX) ทำให้ลดการทำลาย Collagen ลง (5)

-          Peptides จะเข้าไปลดการเกิดริ้วรอยโดยไปขัดขวางปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการอักเสบ ผ่าน TGF-B/Smad Pathway ช่วยให้ปริมาณ Collagen เพิ่มสูงขึ้น (6) 

-          Peptides จะเข้าไปยับยั้งการอักเสบและ MMP (matrix metalloproteinases) activity (ขบวนการทำลาย collagen) ภายในเซลล์ (7)

         


     โดยทั่วไปแล้ว Peptides ที่ใช้ในด้านเครื่องสำอางจะเป็น Peptides ที่เกิดจากสารสังเคราะห์ ซึ่งจะออกฤทธิ์เจาะจงที่ผิวหนังแค่จุดเดียว แต่สำหรับ Peptilium นั้นเป็น Natural Biopeptides ที่สกัดมาจาก Cranberries Natural Biopeptides นั้นมีจำนวนโมเลกุลที่ใหญ่กว่า Peptides ที่ได้จากการสังเคราะห์ ส่งผลให้สามารถออกฤทธิ์ในชั้นผิวหนังได้หลายตำแหน่งกว่า ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยได้มากขึ้น และเนื่องจากผลิตจากธรรมชาติถึง 95% จึงทำให้ได้มั่นใจได้ว่า Peptilium นั้นมีความปลอดภัยต่อผิวของเราได้สูงกว่าพวกสาร Peptides ที่ได้จากการสังเคราะห์

     ส่วนตัว Cranberries เองนั้นมีคุณสมบัติในการเป็นสาร Anti-oxidant เนื่องจากมีสารสำคัญจำพวก Pophenol (ได้แก่ flavonoid, phenolic acid, anthocyanin, tannin)  และสารประกอบ triterpene ซึ่งล้วนแต่มีประสิทธิภาพในการเป็นสาร Anti-oxidant ช่วยลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ  และ Ascorbic acid หรือวิตามินซีในปริมาณที่สูง ซึ่งวิตามินซีนั้นมีผลช่วยในเรื่องของการลบริ้วรอยจุดด่างดำต่าง ๆ  ทำให้ผิวสว่างใส (3,4)  จึงเป็นการนำประโยชน์จากการใช้คุณสมบัติของการเป็น Natural Biopeptides และประโยชน์ที่ได้จากตัว Cranberries เอง เพื่อให้ผลลัพธ์สูงสุงในการลบเลือนริ้วรอย และจุดด่างดำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณผิวพรรณของเรา ส่งผลให้ผิวพรรณของเราดูกระจ่างใส ริ้วรอยเลือนหายไป แลดูมีสุขภาพดีนั่นเองค่ะ

 



     Collagen เป็นสารที่ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง แต่กระบวนการสร้าง Collagen ในร่างกายจะลดลงหรือถูกทำลายโดยปัจจัยต่าง ๆ ได้ เช่น อายุที่มากขึ้น มลภาวะต่าง ๆ  หรือแสงแดดเป็นต้น ดังนั้นการเติม Collagen ให้กับผิวหนังโดยตรงโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Soluble Collagen (Collagen ที่ละลายได้และสามารถซึมผ่านผิวหนังเราได้ดี) ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจนะคะ เพราะเป็นการเพิ่ม Collagen ให้กับผิวของเราโดยตรง ผิวพรรณของเราก็จะแลดูมีสุขภาพดีขึ้น ริ้วรอยจางหายลง

 

     Ectoin เป็นสารที่มีตามธรรมชาติโดยผลิตจากจุลินทรีย์หลายชนิดภายใต้สภาวะเครียด ( 9,10 )โดยสารประกอบนี้ถูกแยกครั้งแรกได้จาก แบคทีเรียสายพันธุ์ Ectothiorhodospira ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายอียิปต์ เป็นสารที่มีความสามารถในการยึดเกาะกับความชื้นได้ดี Ectoine ช่วยในการปรับโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ผิว (11)ป้องกันความเสียหายจากรังสียูวีและมลภาวะ (12,13) ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว (14) ชะลอความแก่ของผิวก่อนวัยอันควร (15) อีกทั้งยังช่วยให้ผิวขาวขึ้นจากกระบวนการไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินอันเกิดจากการโดนรังสี UVA (16) อีกด้วย

 

     Aloe Vera หรือว่านหางจระเข้ที่เรา ๆ รู้จักกันดีนั่นเองค่ะ ด้วยตัวของมันมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้าง Collagen (17) จึงช่วยลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ  เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวเรา อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน (18) ช่วยลดรอยคล้ำ และมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบช่วยลดความแสบร้อนผิวอันเนื่องมาจากการโดนรังสี UVB อีกด้วย (19) และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว นับเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีประโยชน์มากมายจริง ๆ ค่ะ

 


 

     Vitamin E เป็นวิตามินที่เราล้วนคุ้นเคยอย่างดีค่ะ ในด้านของผลิตภัณฑ์เสริมความงามบำรุงผิวพรรณส่วนใหญ่ล้วนมีวิตามินอีเป็นส่วนประกอบ เพราะตัววิตามินอีเองเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดการอักเสบของผิวหนังอันเนื่องจากโดนแสงแดด (20)

 

     นอกจากการเลือก ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด ที่มีคุณภาพ ใช้สารสกัดที่มาจากธรรมชาติเพื่อความปลอดภัยต่อผิวพรรณเรา วิธีการใช้ครีมกันแดดก็เป็นส่วนสำคัญเพื่อดึงประสิทธิภาพของครีมกันแดดออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักการการใช้ครีมกันแดดดังนี้ค่ะ

1)      ทาครีมกันแดดก่อนที่จะออกแดด 15-30 นาที

2)      ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องโดนแดดจัด ๆ  

 

     การใช้ครีมกันแดด ก็เหมือนกับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่ว ๆ ไปค่ะ คือ ก่อนใช้ควรมีการทดลองการแพ้ก่อนทุกครั้งถึงแม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผิวแค่ไหนก็ตาม สามารถทำได้โดยการทาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตามบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนเช่น ข้อพับ หรือ บริเวณหลังใบหู ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติ เช่น ผื่น หรือคันบริเวณที่ทา ก็แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นค่อนข้างปลอดภัยต่อผิวหน้าของเราค่ะ “ปกป้องดูแลผิวพรรณของเราจากแสงแดดตั้งแต่วันนี้นะคะ แล้วริ้วรอย จุด ด่าง ดำ ต่าง ๆ จะได้ไม่มากวนใจเราค่ะ”

 

 


บรรณานุกรม

1.      Jeong S, Yoon S, Kim S, Jung J, Kor M, Shin K, Lim C, Han HS, Lee H, Park KY, Kim J, Chung HJ, Kim HJ. Anti-Wrinkle Benefits of Peptides Complex Stimulating Skin Basement Membrane Proteins Expression.Int J Mol Sci. 2019 Dec 20;21(1):73. doi: 10.3390/ijms21010073.PMID: 31861912 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6981886/

2.      Pai, V.V.; Bhandari, P.; Shukla, P. Topical peptides as cosmeceuticals. Indian J. Dermatol. Venereol. Leprol. 2017, 83, 9–18. [CrossRef] [PubMed]

3.      Skrovankova S., Sumczynski D., Mleck J., Jurikova T., Sochor J. Bioactive Compounds and antioxidant activity in different types of berries. Int. J. Mol. Sci. 2015;16:24673–24706. doi: 10.3390/ijms161024673. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

4.      Jurikova T., Skrovankova S., Mlcek J., Balla S., Snopek L. Bioactive compounds, antioxidant activity, and biological effects of European cranberry (Vaccinium oxycoccos) Molecules. 2019;24:24. doi: 10.3390/molecules24010024. [CrossRef] [Google Scholar]

5.      Wang, L.; Wang, X.; Bai, F.; Fang, Y.; Wang, J.; Gao, R. The anti-skin-aging effect of oral administration of gelatin from the swimbladder of Amur sturgeon (Acipenser schrenckii). Food Funct. 2019,10, 3890–3897.

6.      Lee, K.J.; Park, K.H.; Hahn, J.H. Alleviation of Ultraviolet-B Radiation-Induced Photoaging by a TNFR Antagonistic Peptide,TNFR2-SKE. Mol. Cells 2019,42, 151–160.

7.      Zhang, L.; Zhang, S.; Song, H.; Li, B. Ingestion of collagen hydrolysates alleviates skin chronological aging in an aged mousemodel by increasing collagen synthesis. Food Funct. 2020,11, 5573–5580.

8.      เลือกครีมกันแดดที่ดีต้อง SPF สูง ๆ จริงหรือไม่. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโรงพยาบาลรามาธิบดี.  https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/10212020-1024

9.      Peters P., Galinski E.A., Truper H.G. The Biosynthesis of Ectoine. Fems Microbiol. Lett. 1990;71:157–162. doi: 10.1111/j.1574-6968.1990.tb03815.x. [CrossRef] [Google Scholar]

10.    Harishchandra R.K., Wulff S., Lentzen G., Neuhaus T., Galla H.J. The effect of compatible solute ectoines on the structural organization of lipid monolayer and bilayer membranes. Biophys. Chem. 2010;150:37–46. doi: 10.1016/j.bpc.2010.02.007. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

11.   Meyer S., Schroter M.A., Hahn M.B., Solomun T., Sturm H., Kunte H.J. Ectoine can enhance structural changes in DNA in vitro. Sci. Rep. 2017;7:7170. doi: 10.1038/s41598-017-07441-z. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

12.   Sydlik U., Peuschel H., Paunel-Gorgulu A., Keymel S., Kramer U., Weissenberg A., Kroker M., Seghrouchni S., Heiss C., Windolf J., et al. Recovery of neutrophil apoptosis by ectoine: A new strategy against lung inflammation. Eur. Respir. J. 2013;41:433–442. doi: 10.1183/09031936.00132211. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

13.   Bünger J., Driller H.J., Martin R. Use of Ectoine or Ectoine Derivatives in Cosmetic Formulations. 6,602,514. U.S. Patent. 2003 Aug 5;

14.   Buenger J., Driller H. Ectoin: An effective natural substance to prevent UVA-induced premature photoaging. Skin Pharmacol. Physiol. 2004;17:232–237. doi: 10.1159/000080216. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

15.   Marini A., Reinelt K., Krutmann J., Bilstein A. Ectoine-containing cream in the treatment of mild to moderate atopic dermatitis: A randomised, comparator-controlled, intra-individual double-blind, multi-center trial. Skin Pharmacol. Physiol. 2014;27:57–65. doi: 10.1159/000351381. [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar]

16.   You-Cheng Hseu,Xuan-Zao Chen,1 Yugandhar Vudhya Gowrisankar, Hung-Rong Yen,Jing-Yuan Chuang, and Hsin-Ling Yang , The Skin-Whitening Effects of Ectoine via the Suppression of α-MSH-Stimulated Melanogenesis and the Activation of Antioxidant Nrf2 Pathways in UVA-Irradiated Keratinocytes, Antioxidants (Basel). 2020 Jan; 9(1): 63.Published online 2020 Jan 10. doi: 10.3390/antiox9010063

17.   Chithra R Sajithlal GB, Chandrakasan G. Influence of aloe vera on collagen characteristics in healing dermal wounds in rats. Mol Cell Biochem. 1998;181:71–6.

18.   Byeon S, Pelley R, Ullrich SE, Waller TA, Bucana CD, Strickland FM. Aloe barbadensis extracts reduce the production of interleukin-10 after exposure to ultraviolet radiation. J Invest Dermtol. 1988;110:811–7.

19.   Hutter JA, Salmon M, Stavinoha WB, Satsangi N, Williams RF, Streeper RT, et al. Anti-inflammatory C-glucosyl chromone from Aloe barbadensis. J Nat Prod. 1996;59:541–3

20.   Blake S. Vitamins and Minerals Demystified. New York: McGraw - Hill, Inc.; 2008

 

 
ลิขสิทธิ์งานเขียนบทความนี้เป็นของ บริษัท เบิร์ดซัน แลบบอราทอรี จำกัด (สำนักงานใหญ่) ทะเบียน 0105564007408 ที่อยู่666/17 ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย4 แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

 

เขียนบทความโดย ผู้เชี่ยวชาญทีมคอนเทนต์ nds prolong content กำกับดูแลโดยเภสัชกรหญิงกนกรัตน์ ไชยลาโภ
 

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้